ต่อภาค 3 ภาคนี้ยาวหน่อย
ถอดรหัส E-E-A-Tแต่ละตัวใน EEAT ก็มีน้ำหนักต่างกันแล้วแต่ประเภทของเว็บไซต์ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง และสามารถให้คำตอบของผลลัพธ์ในการจัดอันดับปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน
Experienceหรือ Google ใช้คำว่า First-hand experience คือประสบการณ์ตรง ประสบด้วยตัวเอง ไม่ใช่มาจากการอ่านหรือคนอื่นบอกเล่ามา จะเห็นว่าคล้ายอัลกอ hidden gems โพสต์อาจไม่ต้องยาว ไม่ได้ถูกหลัก SEO แต่มาจากประสบการณ์ตรงก็สามารถทำอันดับดีได้
Experience จำเป็นสำหรับเว็บหรือบทความประเภท รีวิว หรือ แชร์ประสบการณ์ต่างๆ เช่น รีวิวร้านอาหาร รีวิวสถานที่ท่องเที่ยว วิธีประหยัดค่าน้ำ ค่าไฟ
ตัวอย่างที่ใช้บ่งบอก Experienceรูปภาพหรือวิดีโอต้องถ่ายเอง ไม่ซ้ำกับคนอื่น ไม่เอาของคนอื่นมา
เนื้อหา ซึ่ง Google มีสิทธิบัตรที่สามารถระบุได้ว่าเนื้อหาหรือแง่มุมนี้เป็นสิ่งใหม่ในหัวข้อนั้นๆ ที่ไม่เคยมีคนเขียนมาก่อน (คนละอย่างกับ unique content)
Forum, Q&A เว็บประเภทนี้ Google ให้น้ำหนักค่อนข้างมากว่าสิ่งที่โพสต์ส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ตรง จึงไม่แปลกที่เราเห็นเว็บอย่าง Reddit Quora หรือ Pantip โผล่มาหน้าแรกๆเสมอ มาจากสาเหตุนี้แหละ
และผมคิดว่า Google ก็นับพวก social ทั้งหลาย Youtube Facebook Tiktok เป็น First-hand experience เช่นกัน
Expertiseความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียน สำคัญมากสำหรับเว็บไซต์ประเภท YMYL (Your Money Your Life) และลดหลั่นลงมาสำหรับเว็บไซต์ประเภทอื่น
ตัวอย่างที่ใช้บ่งบอก ExpertiseAuthor profile ซึ่งมีประวัติคนเขียนคร่าวๆ อาชีพ การศึกษา ความเชี่ยวชาญ รางวัลต่างๆที่ได้รับ รวมถึง social media ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลคนเขียนได้
ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลคนเขียน Google อาจใช้ข้อมูลเว็บไซต์แทนเพื่อบ่งบอกความเชี่ยวชาญ เช่น เวลาค้นหาเรื่องสุขภาพ ส่วนมากจะเจอเว็บโรงพยาบาล ค้นหาเรื่องภาษี ก็จะเจอเว็บสรรพากร หรือสถาบันการเงิน
Topic ที่เขียนละเอียดและครอบคลุมในเรื่องนั้นๆ เช่น เป็นสัตวแพทย์ก็เขียนการดูแล การรักษาหมา แมว ในทุกๆด้าน ไม่ใช่วันนึงเขียนเรื่องหมา อีกวันเขียนเรื่องยาลดความอ้วน อีกวันเขียนเรื่อง forex
อันนี้ให้ดูข้อมูลของผู้เขียนที่ Google เชื่อมโยงได้ (ต้องมี profile พอสมควร)
จะเห็นว่ารู้ข้อมูลผู้เขียนทั้ง อาชีพ ที่ทำงาน ที่เรียน อายุ ความถนัด งานอดิเรก
ตัวอย่าง expert ในหลากหลายสาขาที่ organic traffic เพิ่มขึ้น
Authoritativenessชื่อเสียงของเว็บหรือผู้เขียน Google ใช้คำว่า go to source คือเป็นเว็บที่คนมักจะเข้าเวลาต้องการหาข้อมูลในเรื่องนั้นๆ เช่น ข่าว – Thairath, รีวิวอาหาร – Wongnai, IT – Blognone
นี่เป็นเหตุผลที่เว็บใหญ่ๆ โดยเฉพาะเว็บประเภท media ติดอันดับต้นๆเสมอ
ตัวอย่างที่ใช้บ่งบอก AuthoritativenessTraffic
Backlinks จาก authority sites
จำนวนผู้ติดตามทาง Social Media
CTR บน organic search
การ Mention ถึงทั้งบนเว็บอื่นและ social
Trustความน่าเชื่อถือ ตัวนี้สำคัญที่สุดใน EEAT ขนาดที่ว่าถึง 3 ตัวแรกดี แต่ถ้า trust ต่ำ EEAT โดยรวมก็อาจต่ำด้วย
Trust สามารถมองได้หลายอย่าง Google ให้คำนิยามว่า “accurate, honest, safe, and reliable” ซึ่งการตีความบางทีอาจเกี่ยวข้องกับ 3 ตัวแรก
ตัวอย่างที่ใช้บ่งบอก trustมี Privacy policy, terms and conditions, cookie policy
มีที่อยู่ อีเมล
SSL
ความถูกต้องและโปร่งใสของเนื่อหา
รีวิวจากลูกค้า
ถ้าเป็นเว็บ ecommerce การจ่ายเงินและเก็บข้อมูลลูกค้าต้องปลอดภัย
จบไตรภาค EEAT น่าจะพอตอบคำถามถึงสาเหตุและที่มาที่ไปของการจัดอับดับตอนนี้ได้ไม่มากก็น้อย