ในมุมมองทุกคนย่อมมีต้นทุนเสมอ สำหรับผมบอกหลักการง่ายๆเลย
ถ้าคุณเข้าไปในร้านอาหารคุณสั่งอาหารมา 1 จาน
ถามว่า คุณกินเข้าไปแล้ว มันไม่อร่อยเอาสะเลย แต่ก็สั่งมาแล้ว ทำยังไงละ
ไปบอกเจ้าของร้านดีไหมว่าร้านเค้า หม..ไม่รับประทานเลย
สงสัยจะโดน...ออกมาจากร้าน
งั้น ไม่จ่ายเงินดีกว่า เพราะ มันไม่อร่อยเอาสะเลย
ถามอีกว่า คุณสามารถไม่จ่ายเงินได้หรือไม ?
คำตอบคิดกันเอาเองครับ ทุกคนล้วนแต่มีต้นทุนของตัวเอง ทำก่อนจ่ายที่หลัง หรือทำหลังจ่ายก่อน ขึ้นอยู่กับคุณทำกับใคร ?
เหมือนคุณซื้อ พระสักองค์ ผมบอกว่าแท้ ผมขาย 10 ล้านคุณเชื่อผมไหม ซื้อผมไหม ทั้งๆที่พระผมจริงๆก็แท้
กลับกัน ถ้าคุณไปซื้อกับเซียน เซียนบอกแท้ แต่พระที่ได้มา อาจจะปลอม แต่ก็เซียนบอกนิว่าแท้ แสดงว่าคุณไม่ได้ดูที่พระ คุณดูที่คนขายพระ
พอจะมีคำตอบไม่มากก็น้อยสำหรับกรณีที่ผมยกตัวอย่างให้ดู ลองปรับใช้ดู
อาหารที่ไม่อร่อย กับอันดับเว็บที่ไม่ได้ตามตกลง มันคนละเรื่องกันครับ
ตอนสั่งอาหาร คุณพูดเมนูว่าหน้าตาต้องเป็นแบบนี้ๆ เขาก็ทำอาหารหน้าตาแบบที่คุณต้องการมาเสิร์ฟ ถ้าไม่อร่อย แล้วไม่เรียกเงินคืน มันก็ถูกต้องแล้ว เพราะเขาทำอาหารเมนูที่คุณต้องการมาให้ตรงตามเงื่อนไขแล้ว
แต่อันดับเว็บ คุณตกลงไว้ว่าอันดับต้องอยู่ในตำแหน่งนี้ถึงตำแหน่งนี้เท่านั้น ไม่ได้ต้องคืนเงิน ถ้าเขาทำไม่ได้ เราจะเรียกเงินคืน ก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ เพราะเขาไม่สามารถทำตามเงื่อนไขที่ตกลงกับเราไว้ได้
ถามหน่อยครับ ในกรณีนี้ ผู้รับจ้างทำ มีสิทธิ์อะไรมา ... เราออกจากร้าน?
คำตอบคิดเอาเองครับ
ส่วนเรื่องความน่าเชื่อถือนี่ ถ้าผมคิดจะจ้างใคร ผมก็เชื่อใจเขาเต็มที่ครับ แต่ถ้ามาหักหลังความเชื่อใจผมทีหลัง เราก็จะได้เห็นดีกันแค่นั้น ไม่มีอะไรมาก